Thursday, October 7, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตราด

แหลมงอบ

เป็นอำเภอเลียบชายหาดอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ชื่อว่า ท่าเรือแหลมงอบ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแหลมงอบประมาณ 500 เมตร

หาดทรายงาม

เป็นหาดทรายขาวละเอียด มีความยาวประมาณ 200 เมตร ขนานไปกับทิวสนทะเล การเดินทาง ใช้เส้นทางเข้าทางเดียวกับแหลมกลัด บริเวณกิโลเมตรที่ 37 และการเดินทางไปชายหาดจะต้องเดินข้ามสะพานไม้ เล็ก ๆ ยาวประมาณ 15 เมตร จึงถึงชายหาด

หาดบานชื่น (หาดมะโร)

ตั้งอยู่ก่อนถึงอำเภอคลองใหญ่ เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ระหว่างกิโลเมตรที่ 59-60 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร เป็นหาดที่มีทรายเม็ดละเอียดน้ำใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าบริเวณชายหาด

หาดมุกแก้ว และ หาดทรายแก้ว

บริเวณหาดมุกแก้ว และหาดทรายแก้วมีบรรยากาศที่เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ชายหาดมุกแก้วเป็นหาดทรายขาวที่ยาวต่อเนื่องกันตลอดเริ่มจากหาดทรายเงินไปจน ถึงหาดทรายแก้วตลอดชายหาดมีทิวสน และต้นมะพร้าวที่ขนานไปกับชายหาด ที่บริเวณหาดมุกแก้วสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้

ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก

ตลาดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรับซื้อพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวกัมพูชาเพื่อไปขาย ต่อที่เกาะกง ตลาดที่บ้านหาดเล็กจะมีเฉพาะในช่วงเช้า เวลาประมาณ 07.00–08.30 น. และยังมีสินค้าราคาถูกที่มาจากประเทศกัมพูชา

Monday, October 4, 2010

การเดินทางจังหวัดตราด

ตราดอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 315 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดตราดได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และเครื่องบิน

การเดินทางไป ตราด

โดยรถยนต์:
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท) ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา พัทยา อำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จนถึงจังหวัดตราด รวมระยะทางประมาณ 385 กิโลเมตร

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 34 (บางนา-บางปะกง) และทางหลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท) จนถึงจังหวัดชลบุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) บริเวณกิโลเมตรที่ 98 ผ่านอำเภอบ้านบึง จนถึงอำเภอแกลง จากนั้นแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3 ต่อไปจนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 318 กิโลเมตร

3. ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี หรือมอเตอร์เวย์) ไปจนถึงอำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ผ่านอำเภอบ้านบึง จนถึงอำเภอแกลง จากนั้นแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3 ต่อไปจนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 318 กิโลเมตร

โดยรถประจำทาง:
มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท

รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น 1 (ปอ.1) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. 0 2391 2237, 0 2391 4164 สาขาตราด โทร. 0 3951 1062, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. 0 2392 7680 สาขาตราด โทร. 0 3951 1587 และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. 0 2391 2331 สาขาตราด โทร. 0 3951 1481

รถโดยสารธรรมดา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. 0 2391 2504, 0 2391 4164

จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 มีบริการรถปรับอากาศชั้น 1 ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852–6

นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. 0 2936 3388 สาขาตราด โทร. 0 3951 1481 บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. 0 2936 0199 สาขาตราด โทร. 0 3951 1062

โดยเครื่องบิน:
บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2265 5555, 0 2265 5678 สำนักงานตราด โทร. 0 3952 5767-8, 0 3952 5299 www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)

การเดินทางภายใน ตราด

ใน ตัวจังหวัดตราดมีรถประเภทต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบ และจากสนามบินมีรถตู้ของบริษัทบางกอกแอร์เวย์สบริการส่งถึงที่ต่างๆ ในตัวเมือง

มีรถสองแถวเล็กวิ่งบริการจากสถานีขนส่งและตลาดเทศบาลไป ยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง และมีรถสองแถววิ่งจากตัวเมืองไปยังแหลมงอบ แหลมศอก เขาสมิง บ่อไร่ แสนตุ้ง ฯลฯ จอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาลและข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00-19.00 น. หลังจากเวลานี้นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมาคัน และอาจเหมารถไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง

รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซ ค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย

ที่ อำเภอแหลมงอบมีท่าเรือที่มีเรือโดยสารไปยังเกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และหมู่เกาะอื่นๆ หลายแห่ง ได้แก่ ท่าเทียบเรือแหลมงอบ ท่าเทียบเรือเกาะช้างเฟอร์รี และท่าเรือเฟอร์รีอ่าวธรรมชาติ และนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือเหมาลำ ซึ่งเป็นเรือประมงดัดแปลงขนาดเล็กจุได้ประมาณ 10 คน ไปเที่ยวยังเกาะต่างๆ ได้ ราคาแล้วแต่ตกลง

มีรถตู้วิ่งจากตัวเมืองตราดไปยังอำเภอคลองใหญ่ และบ้านหาดเล็กทุกวัน ตั้งแต่เวลา 03.00-19.00 น. รถออกจากหน้าโรงหนังศรีตราดดราม่า ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

ระยะทางจากอำเภอเมืองตราดไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอเขาสมิง 16 กิโลเมตร

อำเภอแหลมงอบ 17 กิโลเมตร

อำเภอบ่อไร่ 59 กิโลเมตร

อำเภอคลองใหญ่ 74 กิโลเมตร

อำเภอเกาะช้าง 27 กิโลเมตร

อำเภอเกาะกูด 82 กิโลเมตร

Friday, October 1, 2010

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดตราด

เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
ตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของเกาะที่สวยงามจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น “เมืองเกาะครึ่งร้อย” โดยมีเกาะที่สำคัญที่สุดคือเกาะช้าง ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ต

นอกจากนี้ จังหวัดตราดยังมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมทางถนนที่สะดวกสบาย และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ขึ้น-ลงเป็นประจำทุกวัน ทำให้เมืองแห่งนี้มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวสูง พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งขึ้นต่อไป

ชื่อเมืองตราดนั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำไม้กวาด ที่ในอดีตมีขึ้นอยู่รอบเมืองเป็นจำนวนมาก แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองตราดก็มีอีกชื่อหนึ่งว่า “บ้านบางพระ” รวมทั้งมีการเรียกกันอีกชื่อว่า “เมืองทุ่งใหญ่” ดังปรากฏในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง เนื่องจากในสมัยนั้น ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเลที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือสินค้า บริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองตราดจึงมีชุมชนพ่อค้าชาวจีนตั้งอยู่

ใน ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ตราดมีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค ได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งล้วนหามาได้จากเขตป่าชายฝั่งทะเลในแถบนี้ทั้งสิ้น

เมื่อสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก ได้นำกำลังพลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งสุด ท้ายมาทางทิศตะวันออก ได้ทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารให้เมืองจันทบุรี อันเป็นเมืองที่ตั้งของกองกำลังกอบกู้เอกราช ก่อนเคลื่อนกองทัพออกทำสงครามกู้เอกราชจนสำเร็จ

ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาเวียงจันทน์หันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนจึงทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 โดยมีเมืองตราดเป็นแหล่งกำลังพลและเสบียงอาหาร มีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตรา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2436 และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดและเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง)

ต่อ มารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถทางการปกครองและการทูตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราด เมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) และเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดคืนให้แก่ไทย โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ โดยทำสัญญากันในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบดินแดนกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกไปในเวลาต่อมา ปัจจุบันชาวเมืองตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน "ตราดรำลึก"

ต่อ มาวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำน่านน้ำไทยในเขตจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยจึงได้เข้าขัดขวาง จนเกิดการยิงต่อสู้กันซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง" ครั้งนั้นฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไป และรักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ไว้ได้ แต่ก็ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไปถึง 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งชีวิตทหารอีกจำนวนหนึ่ง

ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ในกัมพูชา ทำให้มีชาวเขมรจำนวนนับแสนหนีตายเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ที่เริ่มจากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลอง ใหญ่ กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ และเมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็กที่สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง

ปัจจุบันจังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น7 อำเภอ เช่น อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง ฯลฯ